ในยุคปัจจุบันที่การใช้ Internet นั้นเติบโตอย่างรวดเร็วการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Internet ได้ง่ายดาย จะพูดว่า Internet เป็นปัจจัยที่ 5 ก็คงไม่ผิด ทีนี้ลองนึกภาพเครือข่ายใหม่ๆที่เกิดขึ้น connection ต่างๆ เส้นทางใหม่ๆที่มากขึ้น วิธีการใดที่จะรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ได้
นั้นคือจุดกำเนิดแนวคิดที่จะนำ LISP มาแก้ปัญหาเรื่อง routing scalability ลองนึกภาพ routing table ที่เก็บข้อมูลเยอะมาก (router ของ ISP ที่ต้องเก็บ full-route) router จะทำงานหนักแค่ไหน ลองมาดูกันว่าแนวคิดการใช้ LISP แก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
Locator/ID Separation Protocol (LISP) นั้นแบ่ง IP Address ออกไปสองส่วนคือ
- Routing Locators (RLOCs) สำหรับกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูล
- End-point Identifiers (EIDs) ใช้ระบุ network session ระหว่างอุปกรณ์ (devices)
ซึ่งจากภาพ address ของ router ก็คือ RLOC ส่วน address ต่างๆของ end-point ก็คือ EID แล้ว Mapping System คืออะไร ?
Mapping system นั้นจะเก็บ mapping address ของ EID กับ RLOC (จะมี Mapping Server เก็บ mapping database ไว้)
การทำงานของ LISP นั้นพอจะเปรียบเทียบได้กับ DNS Lookup
DNS resolves IP address -> URLs
LISP resolved locators (Router IP) -> identities (Endpoint IP)
แล้วผลลัพธ์ที่ได้หลังจากการ run LISP คืออะไร ?
จากภาพหลังจากมีการ run LISP จะเห็นว่า routing table บน router แต่ละตัวนั้นขนาดลดลงเพราะไม่จำเป็นต้องเก็บ endpoint routes หากมีการสร้าง connection ระหว่าง endpoint นั้น LISP Router ก็จะไปดึงข้อมูล locator (RLOC address) จาก mapping server ซึ่ง route table บน LISP Router แต่ละตัวนั้นก็มีการ route ถึงกันอยู่แล้วไม่ว่าจะใช้ routing protocols ใดๆก็ตาม
โดยสรุปแล้วการใช้ LISP นั้นใช้แนวคิดการ แบ่ง address ออกเป็นสองส่วน RLOCs และ EIDs เพื่อที่จะลดขนาด routing table โดยใช้ Mapping System เป็นตัวจัดการกระบวนการ mapping EID to RLOC และมี Mapping Server ที่จะเก็บMapping database (EIDs address to RLOC address) ซึ่งจะลดภาระของ router ในการจัดเก็บ routing table นั้นเอง
ซึ่ง LISP นี้ก็ถูกนำไปใช้ใน Model SD-Access ของ Cisco เช่นกัน โดยที่ SD-Access นั้น Control plane based on LISP
ส่วนรายละเอียดของ LISP นั้นยังมีอีกหลายมิติหากอธิบายในครั้งเดียวอาจจะยืดยาวไป หวังว่าบทความนี้จะทำให้เข้าใจแนวคิดของ LISP มากขึ้นครับ
อ้างอิง
https://datatracker.ietf.org/doc/html/rfc6830
Presentation topic Software-Defined Access by Jirapat Srimarut Technical Solution Specialist,Enterprise Networking